ความคิดเห็นจากลูกค้า (คะแนนเฉลี่ย)

3.3

star star star star star
star
star
star
star
star

Average Rating

เขียนรีวิว

16 ความคิดเห็น
icon-testimonial
กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์
23/08/67
star
star
star
star
star
star

ที่มาของเครื่องหมายกรุงเทพมหานคร เมื่อเทศบาลนครกรุงเทพมหานครรวมกับเทศบาลนครธนบุรี จัดเป็นรูปเทศบาลนครหลวงขึ้น ทางเทศบาลนครหลวงได้จัดตั้งคณะกรรมการให้พิจารณาเครื่องหมายของเทศบาลนครหลวง คณะกรรมการได้พิจารณาเห็นว่าความหมายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ของพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นั้นเป็นความหมายถึงการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสมยิ่ง สำหรับภาพเครื่องหมายถ้าจะขออนุญาตจำลองจากภาพฝีพระหัตถ์ของพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ดูภาพประกอบ)ซึ่งได้ทรงทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวาระดิถี 60 พรรษาของพระองค์ อันเป็นภาพช้างเอราวัณทรงเครื่องด้านหน้า (ภาษาช่างเขียนไทย เรียก หน้าอัด) ซึ่งเป็นภาพซึ่งเขียนได้ยากและกอปรด้วยศิลปกรรมยอดเยี่ยมก็จะเหมาะสมยิ่งขึ้น ท่านทายาทได้ทรงอนุมัติให้จำลองภาพไปเป็นเครื่องหมาย เพื่อให้สมเกียรติกับความหมายที่พระองค์ท่านได้ประทานไว้แต่ก่อน เครื่องหมายของเทศบาลนครหลวงจึงมีภาพจำลองจากภาพของพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นหลัก เนื่องจากเป็นภาพลายเส้น จึงได้ใส่ลายก้อนเมฆให้เห็นชัดว่าอยู่บนสวรรค์ เพราะภาพเดิมเป็นภาพสีฟ้าจาง ๆ ซึ่งลายเส้นทำได้ยาก และได้ใช้คำเทศบาลนครหลวงกำกับไว้ และมีเส้นรัศมีห่างรอบ ๆ ทั้งซ้ายและขวาของภาพพระอินทร์ เมื่อคณะปฏิวัติได้ออกประกาศฉบับที่ 335 ให้เทศบาลนครหลวงจัดรูปการปกครองเป็นกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการออกแบบเครื่องหมายว่า จะขอใช้เครื่องหมายเดิมที่ออกให้แก่เทศบาลนครหลวง แต่ขอเปลี่ยนตัวอักษรว่ากรุงเทพมหานคร ทางประธานกรรมการพิจารณาเครื่องหมายไม่ขัดข้อง กรุงเทพมหานครจึงได้ใช้ภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนก้อนเมฆแบบด้านตรง จำลองจากภาพฝีพระหัตถ์นี้เป็นเครื่องหมายตั้งแต่นั้นมา (ดูภาพประกอบ) สัญลักษณ์พระอินทร์ ตราพระอินทร์ทรงช้าง เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร อาจเป็นเพราะว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองเทวดาของพระอินทร์ดังปรากฎตามชื่อเมืองซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานว่า *กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ และรัชกาลที่ 4 ทรงแก้สร้อยชื่อเมืองเป็น *กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ก็คือ โกสิ สนธิกับ อินทร์ ซึ่งหมายถึง พระอินทร์เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร อาจเป็นเพราะว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองเทวดาของพระอินทร์ดังปรากฎตามชื่อเมืองซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานว่า *กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ และรัชกาลที่ 4 ทรงแก้สร้อยชื่อเมืองเป็น*กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ก็คือ โกสิ สนธิกับ อินทร์ ซึ่งหมายถึง พระอินทร์ สาเหตุที่ยกกรุงเทพฯ เป็นเมืองพระอินทร์ สันนิษฐานว่า เพราะคำว่า *รัตนโกสินทร์ คือแก้วของพระอินทร์ อันได้แก่พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งมีสีเขียวเหมือนสีกายของพระอินทร์ เมืองของพระแก้วมรกตจึงเป็นเมืองของพระอินทร์ รูปพระอินทร์ ที่เป็นตรากรุงเทพมหานครนั้น ถือวชิราวุธหรืออาวุธที่เป็นสายฟ้า เป็นอาวุธประจำพระองค์ ทั้งนี้เพราะพระอินทร์มีหน้าที่ขับไล่ประหารอสูร หรือฤาษีที่ทำความมืดมัวแก่โลก กล่าวคือ เมื่อฤาษีบำเพ็ญตบะจนโลกมืดมัว ฝนไม่ตกตามฤดูกาล พระอินทร์จะทรงใช้สายฟ้า หรือใช้นางอัปสรไปยั่วยวนทำลายตละฤาษี ฝนก็จะตก ท้องฟ้าแจ่มใส เกิดแสงสว่างและความชุ่มชื้นดังเดิม ดังนั้นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนก้อนเมฆ จึงมีความหมายในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงประชา

icon-testimonial
punag1
23/08/67
icon-testimonial
punag1
23/08/67
icon-testimonial
punag1
23/08/67
icon-testimonial
punag1
23/08/67
icon-testimonial
punag1
23/08/67
icon-testimonial
punag1
23/08/67
star
star
star
star
star
star
star
star
star
star

ห้าดาว

icon-testimonial
punag1
23/08/67
star
star
star
star
star
star
star
star
star

สี่ดาว

icon-testimonial
punag1
23/08/67
star
star
star
star
star
star
star
star

สามดาว

icon-testimonial
punag1
23/08/67
star
star
star
star
star
star
star

สองดาว