ปวดหลัง เมื่อยคอ ตึงไหล่ ลุกก็ไม่สะดวก นั่งก็ไม่สบาย ยืนก็ไม่ค่อยได้ ถ้าคุณยังอายุน้อยแต่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปได้ว่าคุณกำลังใช้ร่างกายหนักเกินไป ปวดหลัง เมื่อยคอ ตึงไหล่ ลุกก็ไม่สะดวก นั่งก็ไม่สบาย ยืนก็ไม่ค่อยได้ ถ้าคุณยังอายุน้อยแต่มีอาการเ

24 Jul 2024
share

banner-promotion

ปวดหลัง เมื่อยคอ ตึงไหล่ ลุกก็ไม่สะดวก นั่งก็ไม่สบาย ยืนก็ไม่ค่อยได้ ถ้าคุณยังอายุน้อยแต่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปได้ว่าคุณกำลังใช้ร่างกายหนักเกินไป ปวดหลัง เมื่อยคอ ตึงไหล่ ลุกก็ไม่สะดวก นั่งก็ไม่สบาย ยืนก็ไม่ค่อยได้ ถ้าคุณยังอายุน้อยแต่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปได้ว่าคุณกำลังใช้ร่างกายหนักเกินไป ปวดหลัง เมื่อยคอ ตึงไหล่ ลุกก็ไม่สะดวก นั่งก็ไม่สบาย ยืนก็ไม่ค่อยได้ ถ้าคุณยังอายุน้อยแต่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปได้ว่าคุณกำลังใช้ร่างกายหนักเกินไป

ที่น่าเป็นห่วงคือในช่วงที่มีการ Work from Home และเด็กๆ จะเรียนผ่านช่องทางออนไลน์กันมาเป็นปีๆ ทำให้อาการปวดหลังกลายเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับคนที่น้อยลงเรื่อยๆ จากเมื่อก่อนที่อาการนี้จะเป็นโรคของคนวัยทำงานหรือคนอายุมากเท่านั้น

 

ตามหลักแล้ว อาการปวดหลังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือแบบเฉียบพลัน จะมีอาการขึ้นแบบทันทีทันใด โดยมากมักจะเกิดจากอุบัติเหตุหรือการขยับใช้งานผิดท่า จนทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอักเสบหรือบาดเจ็บ

กลุ่มที่สองคือกลุ่มปวดหลังเรื้อรัง ลักษณะอาการคือจะปวดเป็นๆ หายๆ หรือปวดน้อยๆ แต่นานๆ โดยมากจะมีอาการมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ซึ่ง Health Hacker เอพิโสดนี้จะมาโฟกัสที่กลุ่มนี้กัน พร้อมตอบคำถามที่ว่า ปวดแค่ไหนถึงจะต้องไปหาหมอ

 

ก่อนอื่นต้องบอกว่าสาเหตุของอาการปวดหลังที่เจอบ่อยที่สุดมักจะเกิดจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่หลังอักเสบ ซึ่งการอักเสบนั้นมักเกิดจากการใช้งานผิดวิธี เช่น นั่งนาน ยืนนาน นอนคว่ำ นอนท่าแปลกๆ อ่านหนังสือ หรือแม้กระทั่งการก้มยกของผิดวิธี ซึ่งถ้าหากยังมีอายุน้อย การฟื้นตัวของร่างกายจะยังดีอยู่ ไม่ถึงขั้นที่จะปวดหลังเรื้อรัง

แต่ถ้ามีอายุมากขึ้น หรืออยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ก็จะเจอกับอาการปวดหลังแบบนี้บ่อย อาการจะเป็นๆ หายๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีอาการปวดเมื่อยติดตัวอยู่ตลอดเวลา นั่นเป็นเพราะว่าร่างกายของเราซ่อมแซมฟื้นฟูไม่ทันกับการใช้งานนั่นเอง 

 

ปวดหลังแค่ไหนที่ควรไปพบแพทย์

แนะนำว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมในการไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการคือตอนที่รู้สึกว่าอาการปวดหลังเริ่มรบกวนการใช้ชีวิต เช่น ปวดมากจนนอนไม่ได้ ทำงานไม่ไหว หรือมีอาการปวดหลังร่วมกับเป็นไข้ น้ำหนักลดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ รู้สึกว่าการกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะของตัวเองเริ่มผิดปกติ หากคุณมีประวัติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกับอาการปวดหลัง แนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์ทันที 

 

ป้องกันอาการปวดหลังตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมของตนเอง

  1. ปรับโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับการนั่งทำงาน
  2. หมั่นขยับร่างกายให้บ่อย ไม่นั่งท่าเดิมนานๆ 
  3. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ 
  4. ออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวอย่างสม่ำเสมอ 


ติดตามฟังพอดแคสต์ Health Hacker ได้ทุกวันพุธและอาทิตย์ ทาง THE STANDARD Podcast ทุกช่องทาง